วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

ความรู้เกี่ยวกับการดูดเสมหะผู้ป่วย


                           ความรู้เกี่ยวกับการดูดเสมหะผู้ป่วย
                                                               




การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะซึ่งปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เช่น Endotracheal, Tracheostomy tube เป็นต้น เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยไอขับเสมหะออกเองไม่ได้ หรือการเก็บเสมหะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การประเมินสภาพผู้ป่วย/ ข้อบ่งชี้ แบ่งได้ 2 กรณี คือ
1. การประเมินเพื่อการดูดเสมหะ อาการที่ตรวจแล้วจำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ ได้แก่
1.1 พบปัจจัยเสี่ยงต่อเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ ผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้
เสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียว
1.2 อาการแสดงของเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก
หายใจเสียงดัง หรือการได้ยินเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
การฟังปอดได้เสียงผิดปกติ (Adventitions sound) เช่น Crepitation, Rhonchi เป็นต้น
ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน (Cyanosis)
2.  การประเมินที่ควรหาความผิดปกติอื่นๆ ด้วย เนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจนของผู้ป่วยอาจมีสาเหตุนอกเหนือจากเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการร่วมที่แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน พยาบาลจำเป็นต้องประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอาการร่วมดังกล่าว เช่นมีอาการกระสับกระส่าย หรือซึมลงค่า Oxygen Saturation ต่ำ



อุปกรณ์
เครื่องดูดเสมหะ*
สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ (เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย) **
ท่อต่อลักษณะรูปตัว Y
ถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ
Mask 
สำลีปราศจากเชื้อ
แอลกอฮอล์ 70%
น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ/ น้ำต้มสุก ใส่ในขวดขนาด 500-1000 ml. สำหรับล้างสายดูดเสมหะ
ภาชนะใส่ถุงมือและสายดูดหลังภายหลังกานใช้งาน



*: การปรับแรงดันการดูดเสมหะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเลือดออก และลดการระคายเคืองต่อเยื่อบุและเนื้อเยื้อต่างๆ

กรณีดูดเสมหะด้วยระบบปิด (Close system) ควรใช้แรงดันไม่เกิน 160 mmHg


กรณีดูดเสมหะด้วยระบบเปิด (Open system) ควรปรับแรงดันให้เหมาะสม ดังนี้

                                      

ช่วงวัย     เครื่องชนิดติดฝาผนัง (สเกลmmHg)     ชนิดรถเคลื่อนที่ใช้ไฟฟ้า (สเกลcmHg)
ด็กเล็ก                              60 - 90 mmHg.                                      8 -10 cmHg.
เด็กโต                                80 - 100mmHg.                                      8 -10 cmHg.
ผู้ใหญ่                              100 -120mmHg.                                    10 -15 cmHh.




**: การเลือกสายดูดเสมหะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสายสำหรับดูดเสมหะที่เหมาะสม คือ   ไม่เกิน ½ ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อเจอะคอ หรือผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 14-16 Fr. เด็กเบอร์ 8-10 Fr. เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Lung collapse) เนื่องจากสายดูดเสมหะขนาดใหญ่จะทำให้ช่องว่างของท่อหายใจลดลงจนไม่เพียงพอ สำหรับอากาศภายนอกที่จะไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ดูดออก  
สำหรับการดูดเสมหะระบบปิด (Close system) ตามหลักฐานเชิงประจักษ์แนะนำให้ใช้สายดูดเสมหะขนาดไม่เกิน 12 Fr.
การเตรียมผู้ป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ความร่วมมือ
การจัดท่าที่เหมาะสมในการดูดเสมหะ คือ ต้องจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา (Semi - Fowler,s                   position) เพื่อป้องกันการสำลัก
เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการเสมหะ ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้
ผู้ป่วยที่หายใจเอง ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ 2-3 ครั้ง ตามด้วยการบีบ bag c Hyperoxygenate อีก 4 -6 ครั้ง
ผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ควรให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง (Hyperoxygenate) นาน 30 -60 วินาที
                 
การปฏิบัติการดูดเสมหะตามหลักฐานเชิงประจักษ์
ใส่สายดูดเสมหะลงจนถึงระดับ carina จากนั้นให้ดึงสายขึ้นมา 1 cm จึงค่อยทำการดูดเสมหะ
ไม่ควรดูดเสมหะเกิน 3 ครั้ง/รอบ
ระยะเวลาที่ใช้ในการดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 10 วินาที เพื่อป้องกันกล่องเสียงหดเกร็ง (laryngospasm) ภาวะขาดออกซิเจน และการกระตุ้น Vagus nerve ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หยุดพักนาน  20 – 30 วินาที ระหว่างการดูดเสมหะแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน
กรณีดูดเสมหะครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีเสมหะมาก ให้เว้นระยะการดูดเสมหะซ้ำอย่างน้อย 2 -3 นาที
กรณีผู้ป่วยมีเสมหะเหนียว ควรใช้ Heat Nebulizer แทนการใช้ NSS เนื่องจากมีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized control trial) เกี่ยวกับผลการใช้ NSS ในการดูดเสมหะ ดังนี้
ไม่ช่วยให้เสมหะอ่อนตัวลง และไม่ช่วยดูดเสมหะได้มากขึ้น
เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และระดับ Oxygen Saturation ลดลง
สาร surfactant ในปอดลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการหดตัว-ขยายตัวของปอดลดลง
โอกาสติดเชื้อมีแบคทีเรียในระบบหายใจเพิ่มขึ้น
การประเมินผลการดูดเสมหะ
ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า การดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  
ปริมาณเสมหะลดลง
อัตราการหายใจ 12- 20 ครั้ง/ นาที และอัตราชีพจร 60- 80 ครั้ง/ นาที
ไม่มีอาการหายใจลำบาก
ไม่มีเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน

ผู้ลิขิต
อาจารย์เสาวลักษณ์สุขพัฒนศรีกุล
                           รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์คุ้มทวีพร
ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. รศ.จันทนา                 รณฤทธิวิชัย
2. ผศ.ณัฐสุรางค์            บุญจันทร์
3. รศ.วัฒนา                   พันธุ์ศักดิ์
4. รศ.ดร.วิไลวรรณ         ทองเจริญ
5. รศ.ปรางค์ทิพย์          อุจะรัตน
6. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
7. รศ.ลิวรรณ                 อุนนาภิรักษ์
8. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
9. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี
10. ผศ.ดร.นารีรัตน์              จิตรมนตรี
11. ผศ.ดร.วิราพรรณ           วิโรจน์รัตน์
12. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์       จิรธรรมคุณ
13. อาจารย์ธัญรัตน์            องค์มีเกียรติ
14. อาจารย์ทีปภา              แจ่มกระจ่าง
15. อาจารย์อรุณรัตน์          คันธา
16. อาจารย์จิรวรรณ            มาลา
17. อาจารย์วิภาวี              หม้ายพิมาย
18. อาจารย์เสาวลักษณ์      สุขพัฒนศรีกุล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  การนำองค์ความรู้ไปใช้

          ในการสอนเรื่องการดูดเสมหะ (Suction) ในภาคการศึกษาปลาย  ปีการศึกษา 2556ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องบรรยาย และห้องสาธิตทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย  มหิดล (วิทยาเขตศาลายา) อาจารย์ผู้สอบทุกท่านได้นำองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ในหัวข้อ “Suction” ไปใช้ได้ 2 เรื่อง ผลคือ การสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสอดคล้องกัน มีการเน้นประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. การประเมินสภาพผู้ป่วยทั้งอาการและปัจจัยเสี่ยง
2. เน้นเรื่องการจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา (Semi - Fowler, s position) เพื่อป้องกันการสำลัก
เรื่องที่ไม่สามารถนำองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนไปใช้สอน 4 เรื่อง ได้แก่
1. การสอนภาคปฏิบัติการประเมินสภาพผู้ป่วยใช้การอธิบายเรื่อง Oxygen Saturation ต่ำ
เสนอแนะ ให้สอนนักศึกษาในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย
2. การปรับแรงดันการดูดเสมหะด้วยเครื่องใน LRC หน่วยการวัดแตกต่างจากแบบ pipe line   
เสนอแนะ ให้สอนนักศึกษาอีกครั้งในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย
3. การสอนว่า ใส่สายดูดเสมหะลงจนถึงระดับ carina จากนั้นให้ดึงสายขึ้นมา 1 cm จึงค่อยทำการดูดเสมหะ ไม่สามารถเนื่องจากหุ่นไม่มี carina
เสนอแนะ ให้บอกความยาวสายดูดเสมหะที่ใส่ในหุ่นให้ถึง carina ให้แก่นักศึกษาในการฝึกปฏิบัติ LRC
4. การสอนเรื่อง การใช้ Heat Nebulizer ในกรณีผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์
เสนอแนะ ให้สอนนักศึกษาในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

ผู้ติดตามผลการนำองค์ความรู้ไปใช้
รศ.พัสมณฑ์        คุ้มทวีพร

ผู้นำองค์ความรู้ไปใช้
1. ผศ.ณัฐสุรางค์           บุญจันทร์
2. รศ.วัฒนา                พันธุ์ศักดิ์
3. รศ.ปรางค์ทิพย์         อุจะรัตน
4. รศ.พัสมณฑ์             คุ้มทวีพร
5. รศ.ลิวรรณ              อุนนาภิรักษ์
6. รศ.ดร.วีนัส              ลีฬหกุล
7. รศ.สมจินต์              เพชรพันธุ์ศรี
8. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์     จิรธรรมคุณ
9. อาจารย์ทีปภา             แจ่มกระจ่าง
10. อาจารย์ธัญยรัชต์       องค์มีเกียรติ
11. อาจารย์อรุณรัตน์     คันธา
12. อาจารย์จิรวรรณ      มาลา
13. อาจารย์วิภาวี         หม้ายพิมาย
14. อาจารย์เสาวลักษณ์   สุขพัฒนศรีกุล
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/FN/th/km/km_Suction.html


ขอขอบคุณบทความจาก  

ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                                               


https://www.begreatmedical.com/17176636/catheters-สายดูดเสมหะ-สายยางทางการแพทย์